การศึกษาความสัมพันธ์ของการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) กับคุณภาพน้ำนมดิบในพื้นที่ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครราชสีมา

 

เนาวรัตน์ กำภูศิริ1* ณัฐ สวาสดิ์รัตน์2 บุษบา ถานอาดนา3

 

บทคัดย่อ

                   การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมถือเป็นอีกหนึ่งมาตรฐานที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นได้ ว่านมที่ผลิตออกมาจากฟาร์มโคนมนั้นมีความปลอดภัยและเหมาะสมต่อการบริโภค ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ได้ เปรียบเทียบองค์ประกอบน้ำนม ได้แก่ โปรตีน ไขมัน น้ำตาลแล็คโตส เนื้อนมไม่รวมมันเนย และเนื้อนมทั้งหมด รวมทั้งความสะอาดและสารปนเปื้อนในน้ำนม ได้แก่ จำนวนเซลล์โซมาติกและจุดเยือกแข็งระหว่าง ฟาร์มโคนม ที่ผ่าน (n=150) และไม่ผ่าน (n=150) การรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และฟาร์มก่อน (n=150) และหลัง (n=150) ได้รับการรับรองฯ รวมถึงหาความแตกต่างทางสถิติของชนิดฟาร์มกับ ค่าพารามิเตอร์ดังกล่าวด้วย ทำการเก็บตัวอย่างน้ำนมจากฟาร์มโคนมจำนวน 300 ฟาร์มในพื้นที่จังหวัดลพบุรี สระบุรีและนครราชสีมา ในปี 2561-2562 ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยขององค์ประกอบน้ำนมของฟาร์มโคนมที่ผ่านการรับรองฯ มีค่าสูงกว่าฟาร์มที่ไม่ผ่านการรับรองฯ โดยที่ค่าเฉลี่ยของโปรตีน ไขมัน น้ำตาลแล็คโตส เนื้อนมไม่รวมมันเนย  มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ค่าเฉลี่ยของเนื้อนมทั้งหมดมีค่าต่ำกว่า เกณฑ์มาตรฐานเล็กน้อยในทั้งสองกลุ่ม ส่วนค่าเฉลี่ยของจำนวนเซลล์โซมาติกของฟาร์มโคนมที่ผ่านการรับรองฯ ในพื้นที่จังหวัดสระบุรีและนครราชสีมามีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานทั้งในฟาร์มกลุ่มดังกล่าว เช่นเดียวกัน พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของน้ำตาลแล็คโตส เนื้อนมไม่รวมมันเนยและจุดเยือกแข็งระหว่างฟาร์มทั้งสองกลุ่ม (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคุณภาพน้ำนมดิบกับการปฏิบัติทางการเกษตร ที่ดีในช่วงก่อนและหลังการได้รับการรับรองฯ พบว่าค่าเฉลี่ยของโปรตีน น้ำตาลแล็คโตส เนื้อนมไม่รวมมัน เนย และเนื้อนมทั้งหมดในช่วงก่อนการได้รับการรับรองฯ มีค่าสูงกว่าหลังได้รับการรับรองฯ แต่ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของไขมันของฟาร์มหลังได้รับการรับรองฯ มีค่าสูงกว่า ส่วนฟาร์มโคนมก่อนได้รับการรับรองฯ มีค่าเฉลี่ยของจำนวนเซลล์โซมาติก และจุดเยือกแข็งสูงขึ้นหลังได้รับการรับรองฯ รวมถึงพบว่าค่าเฉลี่ยของไขมัน น้ำตาลแล็คโตส เนื้อนมไม่รวมมันเนย และเนื้อนมทั้งหมดในฟาร์ม ทั้งสองกลุ่มนี้มีความแตกต่างกัน (p<0.05) ดังนั้นควรเน้นส่งเสริมการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมที่มุ่งเน้นให้ค่าเนื้อนมทั้งหมดและจำนวนเซลล์โซมาติกมีคุณภาพที่ดีขึ้นต่อไป

 

คำสำคัญ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี คุณภาพน้ำนมดิบ ลพบุรี สระบุรี นครราชสีมา


เลขทะเบียนวิชาการ : 63(2)-0304-013

1สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์   2สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระบุรี   3สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี

 

อ่านรายละเอียดเนื้อหา