การเปรียบเทียบคุณภาพน้ำนมดิบในถังนมรวมของศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบในพื้นที่จังหวัดสระบุรีที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2562 – มกราคม 2565

ณัฐ สวาสดิ์รัตน์1* จุไรรัตน์ สิงหนาท1

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                

บทคัดย่อ

 

วัตถุประสงค์ของศึกษานี้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบคุณภาพน้ำนมดิบในถังนมรวมของศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบในพื้นที่จังหวัดสระบุรี จำนวน 23 แห่ง ที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน เป็นประจำทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2562 - มกราคม 2565 โดยแบ่งเป็นตัวอย่างน้ำนมดิบจากศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 544 ตัวอย่าง และตัวอย่างน้ำนมดิบจากศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบที่ไม่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 284 ตัวอย่าง       ในการอธิบายเปรียบเทียบค่าองค์ประกอบน้ำนมดิบ ได้แก่ จำนวนโซมาติกเซลล์ เนื้อนมรวม ไขมัน โปรตีน และน้ำตาลแลคโตส  ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มที่เข้าร่วมโครงการฯ มีค่าองค์ประกอบน้ำนมดิบที่มีคุณภาพดีมากกว่ากลุ่มที่ไม่เข้าร่วม        โครงการฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p‹0.05) ส่วนการวิเคราะห์ค่าองค์ประกอบน้ำนมดิบจากศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบตามช่วงฤดูกาลและระหว่างปีที่ทำการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการเฝ้าระวังคุณภาพ ขององค์ประกอบน้ำนมดิบ พบว่า            การวิเคราะห์องค์ประกอบน้ำนมดิบตามช่วงฤดูกาลระหว่างฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว จำนวนโซมาติกเซลล์ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื้อนมรวม โปรตีนและไขมันในฤดูร้อนมีค่าต่ำกว่าฤดูกาลอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p‹0.05) และน้ำตาลแลคโตสในฤดูร้อน มีค่าสูงกว่าฤดูกาลอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p‹0.05) ส่วนการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าองค์ประกอบน้ำนมดิบ 3 ช่วงปีศึกษา ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2562 – มกราคม 2565 พบว่า จำนวนโซมาติกเซลล์  ช่วงปีการศึกษาแรกเดือนกุมภาพันธ์ 2562 – มกราคม 2563 มีค่าสูงกว่าช่วงปีอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p‹0.05) องค์ประกอบน้ำนมดิบอื่น ๆ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกช่วงปีที่ศึกษา  ผลการศึกษานี้สามารถอธิบายค่าองค์ประกอบน้ำนมดิบของกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการฯ มีคุณภาพความปลอดภัยดีกว่า และสามารถใช้วางแผนเฝ้าระวังเก็บตัวอย่างน้ำนมดิบในแต่ละช่วงฤดูกาล เพื่อติดตามผลแก้ไขปัญหาเพิ่มคุณภาพองค์ประกอบน้ำนมดิบของศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ ให้ได้นำน้ำนมดิบมีคุณภาพแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นมตามโครงการฯ และนักเรียนได้บริโภคผลิตภัณฑ์นมที่มีคุณภาพต่อไป

 

คำสำคัญ นมโรงเรียน คุณภาพ องค์ประกอบน้ำนม

เลขทะเบียนวิชาการ : 65(2)-0216(1)-110

1 กลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระบุรี

  

                              อ่านรายละเอียดเนื้อหา